เมนู

อยู่พระองค์เดียว มาโร พระยามารที่ว่าประเสริฐนั้นก็อยู่ผู้เดียว มหาพฺรหฺมา ท้าวมหา
พรหมที่เป็นใหญ่กว่าพรหมทั้งปวง ก็มีอยู่พระองค์เดียว สมเด็จพระสัพพัญญูเล่าเป็นผู้ประเสริฐ
ในโลก ก็มีพระองค์เดียวเหมือนกันฉะนั้น อญฺญสฺส โอกาโส พระเจ้าจะมาตรัสอีกเป็นสองนั้น
จะได้มีโอกาสหามิได้ จำเพาะจะตรัสในโลกได้แต่พระองค์เดียว เป็นธรรมดาจารีตมา ถึงว่าจะ
ตรัสพระสัทธรรมเทศนาและบัญญัติสิกขาบทนั้นเหมือนกัน ก็เกิดขึ้นไม่ได้ เพราะฉะนั้นแล
ในคราวหนึ่ง จึงมีพระพุทธเจ้าเกิดได้เพียงพระองค์เดียวเท่านั้น ขอถวายพระพร
ราชา สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ผู้เป็นปิ่นประชาชาวสาคลนครก็สโมสรโสมนัส ตรัสสาธุ
การ ชมปัญญาของพระนาคเสน ดุจนัยที่วิสัชนามาแต่หลัง
ทวินนัง พุทธานัง โลเก อุปปัชชปัญหา คำรบ 8 จบเพียงนี้

คีหิปัพพชิตสัมมาปฏิบัตติปัญหา ที่ 9


ราชา อาห

สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีพระราชโองการถามซึ่งอรรถปัญหา
อื่นว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เฉลิมปราชญ์ปรีชาญาณ สมเด็จพระบรมโลกนาถ
ศาสดาจารย์มีพระพุทธฎีกาโปรดไว้ว่า ภิกฺขเว ดูรานะภิกษุทั้งหลาย อหํ อันว่าตถาคตนี้มา
สรรเสริญซึ่งสัมาปฏิบัติ ถ้าผู้ใดปฏิบัติดีแล้วเป็นประเสริฐ อาจเกิดมรรคเกิดผลจะได้เลือกว่า
คฤหัสถ์ จะได้เลือกว่าบรรพชิต หามิได้ ถ้าผู้ใดปฏิบัติดีแล้ว ก็จะได้มรรคได้ผลเป็นอันเที่ยงแท้
นี่แหละพระผู้เป็นเจ้า ถ้าว่าฉะนั้นแล้ว โยมเห็นว่าเป็นคฤหัถ์ที่ปฏิบัติดี ได้เปรียบกว่า สบายกว่า
ด้วยว่าคฤหัสถ์นี้ โอทาตวสโน จะนุ่งผ้าขาวผ้าดำผ้าแดงผ้าด้ายผ้าไหมประการใดก็ได้ มิได้ว่า
มิได้มีพระพุทธฎีกาทรงบัญญัติสิกขาบทห้าม กามโภคี ยินดีในที่จะบริโภคซึ่งรูปะ สัททะ คันธะ
รสะ โผฏฐัพพะ ได้ตามปรารถนา รูปะ คือยินดีที่จะเชยชมรูปหญิงเป็นต้น สัททะคือเสียง
ดุริยดนตรีเสียงขับร้อง คันธะ คือของหอมอันชื่นใจ รสะ คือรสในอาหาร โผฏฐัพพะ คือสิ่งที่จะ
ถูกต้องมีเคล้าคลึงเป็นต้น คฤหัสถ์ยินดีในสิ่งเหล่านี้ได้ตามปรารถนา และจะมีบุตรภรรยาอย่าง
ไรก็ได้ ไม่มีข้อห้าม และจะไล่ทาซึ่งของหอมอย่างไรก็ทำได้ทรงได้สิ้น สาทิยนฺโต จะชื่นชม
ิยินดีซึ่งเงินทองสร้างสมไว้ก็ได้ โมลิพนฺโธ จะมุ่นมวยผมแล้ว จะประดับให้วิจิตรไปด้วยแก้วและ
ทองนั้นก็ได้ไม่ขัด คฤหัสถ์เห็นปานดังนี้ คืออุบาสกอุบาสกา สมฺมาปฏิปนฺนา จะชวนกันปฏิบัติ
เป็นสัมมาปฏิบัติ คือจำเริญซึ่งสมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน ภาวนาไปก็จะสำเร็จ

แก่ไญยธรรมมรรคผล สำเร็จแก่พระนิพพานอันสุขเกษม โยมเห็นฉะนี้โยมจึงว่า คฤหัสถ์ได้
เปรียบกว่าบรรพชิต ธรรมดาว่าบรรพชิตนี้จำเพาะจะนุ่งห่มได้แต่ผ้าย้อมด้วยน้ำฝาด บิณฑบาต
เลี้ยงชีวิตลำบากนักหนา มีปรกติรักษาซึ่งกิจมิให้ผิดจากพระพุทธบัญญัติ ตั้งใจปฏิบัติ ถือให้มั่น
ในสีลักขันธ์ทั้ง 4 คือพระปาติโมกขสังวรศีล ปัจจยสันนิสิตศีล อาชีวปาริสุทธศีล อินทรียสังวร
ศีลดังนี้ และต้องสมาทานถือมั่นสิกขาบททั้งหลาย มิหนำซ้ำต้องประพฤติเตรสธุงดงค์ 13 ประ
การอีกเล่า ดูนี่ลำบากนัก ถ้าว่าไม่มีผลเป็นวิเศษอีกแล้ว โยมเห็นว่าลำบากกายเปล่า ถึงจะปฏิบัติ
ดีเล่าก็ได้มรรคได้ผลเช่นเดียวกับคฤหัสถ์ที่ปฏิบัติดี ถ้าฉะนั้นเป็นคฤหัสถ์สบายกว่า ซึ่งบรรพชา
นั้นหาผลมิได้ วินัยสิกขาบทบัญญัติก็หาผลมิได้ เตรสธุดงคปฏิบัติก็หาผลมิได้ กึ ตตฺถ ทุกฺ-
ขมนุจิณฺเณน
จะประโยชน์ทำไมด้วยการปฏิบัติลำบากเล่า นี่แหละข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า โยมคิด
ดูก็สงสัย จงวิสัชนาไปให้แจ้งก่อน
พระนาคเสนจึงถวายพระพรวิสัชนาว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร ภาสิตํ
เจตํ
ข้อความประการนี้ สมเด็จพระศรีสุคตทศพลญาณเจ้าโปรดไว้ว่า สมฺมาปฏิปตฺตึ วณฺเณมิ
ตถาคตมาสรรเสริญปฏิบัติอันเป็นสัมมาปฏิบัติ ว่าเป็นคฤหัสถ์ก็ดี บรรพชิตก็ดี มีอุตสาหะ
ปฏิบัติแล้ว ก็จะสำเร็จซึ่งธรรมวิเศษสมดังปรารถนา ถ้าว่าบรรพชิตปฏิบัติก็จะได้สำเร็จแก่ธรรม-
วิเศษดุจพระพุทธฎีกาตรัส ก็เมื่อว่าบรรพชิตผู้ใดมาเข้าใจเสียว่า ปพฺพชิโตมฺหิ อาตมานี้เป็น
บรรพชิต รักษากิจตามพระวินัยบัญญัติแล้ว น สมฺมาปฏิปชฺเชยฺย ไม่พึงปฏิบัติให้เป็นสัมมา
ปฏิบัติคือจำเริญสมถวิปัสสนา อถ โข กาเล ในกาลนั้นแท้จริง อารกา สามญฺญา บรรพ-
ชิตนั้นก็จะไกลไปจากมรรคผลเป็นปุถุชนอยู่ หาสำเร็จไม่ ปเคว จะกล่าวไปไยถึงฆราวาสเล่า
เมื่อฆราวาสตั้งอยู่ในพระไตรสรณคมน์ และศีล 5 เป็นนิจศีล ศีล 8 เป็นอติเรกศีล ให้ทาน
แก่ยาจกสมณพราหมณาจารย์ ถือใจว่าเรากระทำบุญนี้ประเสริฐนักหนา แล้วมิได้จำเริญ
สมถวิปัสสนา อารกา สามญฺญา ก็จะไกลจากมรรคผล ถ้าว่าคฤหัสถ์คนใดตั้งอยู่ในพระ
ไตรสรณคมน์และศีลทานแล้ว จำเริญวิปัสสนากรรมฐานเป็นสัมมาปฏิบัติ คฤหัสถ์นั้นก็จะ
ได้มรรคผล ข้อซึ่งสมเด็จพระทศพลตรัสสรรเสริญสัมมาปฏิบัตินี้ กลัวว่าบรรพชิตจะสละไม่
รักษากิจวินัยไม่ปฏิบัติ และกลัวคฤหัสถ์จะสาละวนไปข้างศีลทาน มิได้จำเริญซึ่งสมถกรรม-
ฐานและวิปัสสนากรรมฐานเป็นการสัมมาปฏิบัติ ที่จะรีบรัดเข้าสู่พระอมตมหานิพพานเสียแล้ว
กลัวว่าจะเป็นปุถุชนวนเวียนตายเกิด หากำหนดสงสารมิได้ สมเด็จพระบรมโลกนาถศาสดาจึง
มีพระพุทธฎีกาตรัสดังนี้
อนึ่ง อย่างได้ถือว่าคฤหัสถ์ดีกว่าบรรพชิต บรรพชิตนี้ประเสริฐกว่าเพศคฤหัสถ์ เหตุว่า
ทรงไว้ซึ่งภูมิพระอรหัตเป็นเพศสูงนักหนา พหุคุณา มีคุณจะนับจะประมาณมิได้ เปรียบไป ก็

ก็ปานกันกับแก้วมณีมีชื่อว่ากามททะ เป็นแก้วอันให้สำเร็จซึ่งสิ่งสารพัดจะปรารถนา บุคคลจะ
ตีค่าราคาว่าเป็นทรัพย์เท่านั้นเป็นทรัพย์เท่านี้ ดูไม่สมควรยิ่งนัก ยถา มีครุวนาฉันใด พระ
คุณแห่งบรรพชาก็มีครุวนาเปรียบดังนั้น มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร มหา-
สมุทฺเท อุมฺมิโย
เปรียบดุจหนึ่งลูกคลื่นในท้องมหาสมุทรอันใหญ่ แต่มหาสมุทรก็สุดที่จะประ
มาณได้เพราะว่ากว้างใหญ่ มิหนำซ้ำจะให้ประมาณลูกคลื่นในท้องมหาสมุทร สุดปัญญา
เหลือปัญญาที่มนุษย์ผู้มีปัญญาจะประมาณจะนับได้โดยสังขยา ยถา มีครุวนาฉันใด คุณ
แห่งบรรพชานี้ยิ่งใหญ่ ประกอบไปด้วยวิเศษสุดเป็นอเนกา สุดที่ว่าจะนับจะประมาณได้ มีพระ
คุณเลิศดินฟ้า ผู้ที่เป็นบรรพชิตนี้ดีกว่าคฤหัสถ์ จะปฏิบัติเป็นสัมมาปฏิบัติ ด้วยหวังจะได้บรรลุ
มรรคผลก็ได้โดยง่ายเร็วกว่าคฤหัสถ์ อปฺปิจฺโฉ เพราะบรรพชิตนั้นเป็นผู้มักน้อยสันโดษ
บริสุทธิ์สะอาด วิวิตฺโต จำเพาะอยู่แต่ในที่สงัด อสํสฏฺโฐ มิได้ระคนปนอยู่ในหมู่คณะ มิได้
ธุระกังวลด้วยสิ่งใด มีอาลัยเด็ดขาดไม่ห่วงใยที่อยู่ ย่อมรักษาศีลขันธ์ทั้ง 4 ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์
และฉลาดในธุดงค์ 13 เช่นนี้ จะหวังมรรคหวังผลหรือคุณพิเศษอันใด ก็ดำเนินสู่กรรมฐานวิถี
ปฏิบัติให้สำเร็จได้คล่อง ไม่ต้องกินเวลานาน มีอุปมาฉันใด มีอุปไมยดุจเรือที่เกลี้ยงเกลาเรียบ
เสมอ อันบุคคลขัดดีแล้ว และไม่คดเคี้ยว ตรงดี จะมีอะไรติดเป็นมลทินก็หาไม่ ย่อมแล่นได้ดี
ฉันใด เพศบรรพชิตนี้ปฏิบัติเป็นสัมมาปฏิบัติอยู่แล้ว ย่อมยังกรรมฐานวิถีให้สำเร็จได้คล่อง
อาจกระทำสมณกิจให้สำเร็จหวังได้โดยง่ายฉะนั้น ส่วนเพศคฤหัสถ์ ถึงจะให้สำเร็จได้ก็ยากนัก
เพราะจิตมัววุ่นวายติดอยู่ด้วยเครื่องเกลือกลั้วแห่งกิเลสต่าง ๆ ยากที่จะหาโอกาสกระทำให้
เป็นสมาธิได้ มหาบพิตร จงทราบพระญาณด้วยประการดังนี้
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการตรัสสรรเสริญสติปัญญาพระ
นาคเสน ดุจนัยที่วิสัชนามาแล้ว
คีหิปัพพชัรสัมมาปฏิปัตติปัญหา คำรบ 9 จบเพียงนี้*

*ในระหว่างนี้ ฉบับแปลร้อยขาด 1 ปัญหา ชื่อปฏิปทาโทสปัญหา ในฉบับบาลีมีอยู่ แต่ทั้งชื่อทั้งใจความ
ตลอดจนสำนวน พ้องกับปัญหาที่ 1 ในฉัฏฐวรรค จึงงดเสียมิได้แปลเพิ่มลง

หีนายาวัตตนปัญหา ที่ 10


สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชามหากษัตริย์ขัตติยาธิบดี จึงมีพระราชโองการตรัสถาม
อรรถปัญหาอีกว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชาญาณ อิทํ สาสนํ อันว่าพระ
ศาสนาของสมเด็จพระบรมโลกนาถศาสดาจารย์ของเรานี้ขาวบริสุทธิ์ประเสริฐเลิศล้น ซึ่งจะ
บวชปุถุชนอันชัฏด้วยกิเลสตัณหาเข้าไว้ในบวรพุทธศาสนานี้ เห็นไม่ดีไม่สมควรนักหนาทีเดียว
ถ้าว่าได้ธรรมวิเศษถึงจะไม่สำเร็จพระอรหัตจะได้แต่มรรคผลอันใดอันหนึ่ง คือโสดาปัตติมรรค
โสดาปัตติผลเป็นต้นตามแต่จะได้ บวชเข้าไปในบวรพุทธศาสนาอุตส่าห์เจริญไป ก็จะได้พระอรหัต
ตัดกิเลสยั่งยืนไป จึงจะเห็นสมควรในพระศาสนา ถ้าคฤหัสถ์ปุถุชนแท้ แต่มรรคอันใดอันหนึ่ง
อย่างต่ำเพียงชั้นพระโสดาก็ไม่ได้ ครั้นบวชเข้าในพระบวรพุทธศาสนามักกระทำไม่ต้องด้วยกิจ
ไม่สำเร็จด้วยธรรมวิเศษสิ่งหนึ่งสิ่งใด อยู่ไม่ได้ในพระศาสนา สึกหาจากพระศาสนา มหาชน
ชวนกันนินทาว่า ผู้นั้นแน่บวชเข้าในพระบวรพุทธศาสนาของสมเด็จพระสมณโคดมบรมครู
เจ้าของเราก็เปล่าไป มรรคผลสิ่งใดก็ไม่ได้ กลับสึกออกมา คำครหามีฉะนี้ เหตุดังนั้นโยมจึงว่า
คฤหัสถ์ปุถุชนเช่นนั้นจะพากันบรรพชาบวชเข้าในพระพุทธศาสนาไม่ได้ ด้วยพระศาสนานี้
บริสุทธิ์ประเสริฐดี จะกลับเป็นที่นินทา โยมเห็นว่าคฤหัสถ์ปุถุชนแท้ไม่ควรแก่พระพุทธศาสนา
บวชเข้าจะพาให้เขาติเตียน
พระนาคเสนจึงวิสัชนาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ
ตฬากํ ภเวยฺย เปรียบด้วยสระอันลึกซึ้งเต็มด้วยอุทกังอันใสและเย็น คือน้ำอาบน้ำสรง ยังมี
ชายหนึ่งเดินตรงเข้าไปที่สระน้ำ ชายนั้นมีกายอันติดต้องไปด้วยธุลี ควรที่ชายนั้นจะไปสู่บ่อน้ำ
ชำระเสียซึ่งมลทินธุลีให้สำราญ บุรุษชายนั้นเกียจคร้านไม่อาบน้ำชำระกายเดินกรายหนีเลี่ยง
เลยสระน้ำมา มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร ประชาชนทั้งหลายได้ทัศนาการ
เห็นชายเกียจคร้านไม่อาบน้ำนั้น ก็ชวนกันติเตียนชวนกันครหาชวนกันนินทาว่า บุรุษชายคนนี้
มีกายติดไปด้วยมลทินน่าเกลียด เดินเฉียดมากับสระน้ำ น่าจะชำระเสียให้หมดมลทิน ชำระ
เสียไม่ได้ โสมมนี้กระไรนักหนา คนทั้งหลายชวนกันว่าอย่างนี้ เขาจะนินทาสระว่า สระนี้
กระไรใจชั่ว คนตัวเปื้อนมลทินเดินเฉียดมา ชั้นจะเรียกให้อาบน้ำชำระมลทินเสียให้หมดสิ้นก็ไม่มี
ประชาชนเขาจะนินทาฉะนี้หรือประการใด นะบพิตรพระราชสมภาร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่
พระนาคเสนผู้ปรีชาญาณ การอะไรเขาจะนินทาสระ สระมีจิตมีวิญญาณเมื่อไรเล่า ฝูงคนเขาก็
นินทาว่าชายผู้นั้นเป็นคนโสมมไม่ดีกระนั้นซิ พระผู้เป็นเจ้า
พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร